วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แบบทดสอบเรื่องสมบัติของธาตุและสารประกอบ

1.     ธาตุซึ่งมีเลขอะตอมต่อไปนี้  ข้อใดมีค่า IE1 เรียงตามลำดับจากน้อยไปหามาก
        ก. 8, 9, 10, 11, 12                                      ข. 12, 11, 10, 9, 8
        ค. 11, 12, 8, 9, 10                                      ง. 10, 9, 8, 12, 11

2.     พิจารณาธาตุ 3Li , 4Be , 5และ 6C ค่า IE3 ของธาตุใดมีค่ามากที่สุด
        ก. Li                   ข. Be              ค. B            ง. C

ปฏิกิริยานิวเคลียร์

ปฏิกิริยานิวเคลียร์  คือ  ปฏิกิริยาที่เกิดความเปลี่ยนแปลงกับนิวเคลียสของอะตอม ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม หรือลดโปรตอน หรือนิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอม เช่น ปฏิกิริยานี้
{}^{23}_{11} Na + {}^1_0 n \rarr {}^{24}_{11} Na + \gamma
จะเห็นได้ว่าโซเดียม ได้มีการรับนิวตรอนเข้าไป เมื่อนิวเคลียสเกิดความไม่เสถียร จึงเกิดการคายพลังงานออกมา และพลังงานที่คายออกมานั้น เมื่ออยู่ในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแล้ว มันก็คือรังสีแกมมานั่นเอง
โดยทั่วไปรังสีแกมมาที่แผ่ออกมาจากนิวเคลียสของอะตอมที่ไม่เสถียรนั้น มักจะมีค่าพลังงานที่แตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดของไอโซโทป ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะประจำไอโซโทปนั้น ๆ
ปฏิกิริยานิวเคลียร์นั้นมีมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งในบรรดารูปแบบทั้งหมดที่เราค้นพบในปัจจุบัน จะมีเพียง รูปแบบที่เราพูดถึงกันบ่อย ๆ นั่นก็คือ อ่านเพิ่มเติม

ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

                 นักเรียนได้ศึกษาเกี่ยวกับธาตุและสมบัติของธาตุต่างๆ มาแล้ว ต่อไปนี้จะศึกษาธาตุและสารประกอบของธาตุที่สำคัญบางชนิด ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์สัตว์และพืช พร้อมทั้งศึกษาถึงผลกระทบที่จะมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

3.8.1  ธาตุอะลูมิเนียม

                 อะลูมิเนียมพบมาในเปลือกโลกประมาณ  7.5% โดยมวล รูปของสารประกอบ เช่น บอกไซต์ (Al_2 O_3 \cdot 2H_2 O)ไครโอไลต์(Na_3 AlF_6)โลหะอะลูมิเนียมเตรียมได้จากการหลอมเหลวแร่บอกไซต์แล้วแยกด้วยกระแสไฟฟ้าจะได้โลหะอะลูมิเนียมที่แคโทด โลหะอะลูมิเนียมมีสีเงิน มีความหนาแน่นต่ำ เหนียวและแข็ง ดัดโค้งงอได้ ทุบให้เป็นแผ่นหรือดึงเป็นเส้นได้ นำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดีมาก
สารประกอบออกไซด์ของอะลูมิเนียมคือAl_2 O_3มีจุดหลอมเหลวสูงมาก ทนความร้อนสูง ละลายได้ทั้งในกรดและเบส ออกไซด์ที่เกิดในธรรมชาติเรียกว่า คอรันดัม มีความแข็งมากและมีหลายสี จึงนิยมใช้ทำเครื่องประดับ สารประกอบซัลเฟตของอะลูมิเนียมที่ตกผลึกร่วมกับหะแอลคาไลน์ จะได้ผลึกของอะลัม (Alum) ชนิดหนึ่งซึ่งมีสูตรทั่วไปคือ MAl(SO_4 )_2 \cdot 12H_2 Oโดย M ในที่นี้คือไอออนบวกของโลหะ เช่นN^+หรือ K^+ส่วนสารส้มที่ใช้ตามบ้านคือสารส้มโพแทส มีสูตร  KAl(SO_4 )_2 \cdot 12H_2 Oมีลักษณะเป็นผลึกใส ใช้มากในกระบวนการผลิตกระดาษและกระบวนการทำน้ำประปา

คอรันดัม หรือ กะรุน สูตรเคมีคือ อ่านเพิ่มเติม

การทำนายตำแหน่งและสมบัติของธาตุในตารางธาตุ

การทำนายตำแหน่งและสมบัติของธาตุในตารางธาตุ
                  การศึกษาสมบัติของธาตุตามตารางธาตุ จะช่วยในการทำนายสมบัติของธาตุได้ ถ้ารู้ตำแหน่งของธาตุนั้นในตารางธาตุหรือถ้ารู้สมบัติบางประการของธาตุอาจพิจารณาตำแหน่งของธาตุได้ดังตัวอย่างการจัดตำแหน่งของธาตุไฮโดรเจนที่ศึกษามาแล้ว ต่อไปนักเรียนจะได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาวิธีการประมาณตำแหน่งของธาตุในตารางธาตุและการทำนายสมบัติของธาตุเมื่อรู้ตำแหน่งของธาตุนั้นในตารางธาตุดังต่อไปนี้ อ่านเพิ่มเติม

ธาตุกัมมันตรังสี

      คือธาตุพลังงานสูงกลุ่มหนึ่งที่สามารถแผ่รังสี แล้วกลายเป็นอะตอมของธาตุใหม่ได้ มีประวัติการค้นพบดังนี้
  1. รังสีเอ็กซ์ ถูกค้นพบโดย Conrad Röntgen อย่างบังเอิญเมื่อปี ค.ศ. 1895
  2. ยูเรเนียม ค้นพบโดย Becquerel เมื่อปี ค.ศ. 1896 โดยเมื่อเก็บยูเรเนียมไว้กับฟิล์มถ่ายรูป ในที่มิดชิด ฟิล์มจะมีลักษณะ เหมือนถูกแสง จึงสรุปได้ว่าน่าจะมีการแผ่รังสีออกมาจากธาตุยูเรเนียม เขาจึงตั้งชื่อว่า Becquerel Radiation
  3. พอโลเนียม ถูกค้นพบและตั้งชื่อโดย มารี กูรี ตามชื่อบ้านเกิด (โปแลนด์) เมื่อปี ค.ศ. 1898 หลังจากการสกัดเอายูเรเนียมออกจาก Pitchblende หมดแล้ว แต่ยังมีการแผ่รังสีอยู่ สรุปได้ว่ามีธาตุอื่นที่แผ่รังสีได้อีกแฝงอยู่ใน Pitchblende นอกจากนี้ กูรียังได้ตั้งชื่อเรียกธาตุที่แผ่รังสีได้ว่า ธาตุกัมมันตรังสี และเรียกรังสีนี้ว่า กัมมันตภาพรังสี
  4. เรเดียม ถูกตั้งชื่อไว้เมื่อปี ค.ศ. 1898 หลังจากสกัดเอาพอโลเนียมออกจากพิตช์เบลนด์หมดแล้ว พบว่ายังคงมีการแผ่รังสี จึงสรุปว่ามีธาตุอื่นที่แผ่รังสีได้อีกใน Pitchblende ในที่สุดกูรีก็สามารถสกัดเรเดียมออกมาได้จริง ๆ จำนวน 0.1 กรัม ในปี ค.ศ. 1902
ส่วนรังสีที่แผ่ออกมาจากธาตุนั้น แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ อ่านเพิ่มเติม

ธาตุกึ่งโลหะ

  ธาตุกึ่งโลหะ  (semimetals) หรือ ธาตุเมทัลลอยด์ ( matalliods) จะอยู่ค่อนไปทางขวาของตารางธาตุจะเป็นเส้นทึบเป็นขั้นบันไดปรากฏอยู่ ซึ่งจัดเป็นธาตุกึ่งโลหะ ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างโลหะและอโลหะ ซึ่งคุณสมบัติสำคัญที่ใช้จำแนกประเภทของธาตุเหล่านี้คือคุณสมบัติการนำไฟฟ้า ธาตุกึ่งโลหะส่วนใหญ่จะเป็นสารกึ่งตัวนำ ( semiconductors ) และส่วนใหญ่มีโครงสร้างแบบโครงผลึกร่างตาข่าย 
       
       ธาตุกึ่งโลหะ ได้แก่ โบรอน ( B )  ซิลิคอน(Si) เจอร์เมเนียม(Ge)   อาร์เซนิก(As)   พลวง(Sb)  เทลลูเรียม(Te)  พอโลเนียม(Po) และแอสทาทีน(At)
อ่านเพิ่มเติม
      
    
 ตำแหน่งของธาตุกึ่งโลหะเป็นดังนี้ 

ธาตุแทรนซิชัน

ธาตุแทรนซิชัน

         ธาตุแทรนซิชัน (transition  element)  หมายถึง  ธาตุหมู่ B  
ที่อยู่ระหว่างหมู่ธาตุ  IIA และ  IIIA  โดยธาตุแทรนซิชันมีอิเล็กตรอนบรรจุใน 
 d หรือ  f-ออร์บิทัลไม่เต็ม  ได้แก่ ธาตุ d  และกลุ่ม  f  ในตารางธาตุ  
ธาตุแทรนซิชันมีการแบ่งเป็นหมู่ได้  8  หมู่เช่นเดียวกันธาตุ A เริ่มจากหมู่ 
 IIIB,  IVB,  VB, VIB, VIIB, VIIIB, IB และ  IIB ธาตุหมู่  IIB  (Zn, Cd, Hg)
 มีอิเล็กตรอนบรรจุเต็มใน  d-ออร์บิทัล
1.  ธาตุแทรนซิชันหลัก  (main  transition) คือ 
ธาตุแทรนซิชันที่มีการบรรจุอิเล็กตรอนใน d-ออร์บิทัล
2.  ธาตุแทรนซิชันชั้นใน (inner  transition)  คือ อ่านเพิ่มเติม
 

ตำแหน่งของธาตุไฮโดรเจนในตารางธาตุ

  ตำแหน่งของธาตุไฮโดรเจนในตารางธาตุ
         โดยทั่วๆ ไปการจัดธาตุให้อยู่ในหมู่เดียวกันจะใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนและสมบัติของธาตุเป็นเกณฑ์ ถ้ามีเวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากันและมีสมบัติต่างๆ คล้ายกันจะจัดว่าอยู่ในหมู่เดียวกัน    สำหรับไฮโดรเจนมีเลขอะตอมเท่ากับหนึ่ง เมื่อพิจารณาการจัดเรียงอิเล็กตรอน จะพบว่ามีเวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1 และอยู่ในระดับพลังงานแรก ซึ่งถ้าใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนเป็นเกณฑ์ควรจะจัดให้ไฮโดรเจนอยู่ในหมู่ IA คาบ 1 ได้ แต่อย่างไรก็ตาม อาจจะพิจารณาว่า  อยู่ในหมู่ VIIA ได้เหมือนกัน เพราะยังขาดอิเล็กตรอน เพียง 1 ตัวจะมีการจัดอิเล็กตรอนเหมือน He เมื่อพิจารณาสมบัติบางประการของธาตุไฮโดรเจนเทียบกับสมบัติของธาตุหมู่ IA  และหมู่ VIIA จะได้ดังนี้ อ่านเพิ่มเติม



ปฏิกิริยาของธาตุและสารประกอบของธาตุตามหมู่

ปฏิกิริยาของธาตุและสารประกอบของธาตุตามหมู่
3.2.1 ปฏิกิริยาของธาตุหมู่ IA และ IIA
โลหะโซเดียมและแมกนีเซียมเป็นธาตุหมู่ IA และ IIA ตามลำดับเมื่อธาตุทั้งสองทำปฏิกิริยากับน้ำ จากการทดลองพบว่ามีแก๊สเกิดขึ้นและสารละลายมีสมบัติเป็นเบสซึ่งถ้าทดสอบแก๊สที่เกิดขึ้นต่อไปจะพบว่าเป็นแก๊สไฮโดรเจน
นอกจากนี้ยังพบว่า ณ อุณหภูมิห้อง โลหะโซเดียมทำปฏิกิริยากับน้ำได้รุนแรงและรวดเร็ว ส่วนแมกนีเซียมเกิดปฏิกิริยาได้ค่อนข้างช้าแต่จะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้นในน้ำร้อน แสดงว่าทั้งชนิดของโลหะและอุณหภูมิของน้ำมีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับน้ำ
ธาตุหมู่ IA และ IIA เป็น โลหะ เมื่อทำปฏิกิริยากับ อโลหะ แล้วเกิดเป็นสารประกอบไอออนิกส่วนใหญ่
1.ธาตุหมู่ IA เป็นโลหะ แอลคาไล มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่ำมีเลขออกซิเดชัน +1 ธาตุหมู่นี้มีความว่องไวสูงในการเกิดปฏิกิริยา
2. ธาตุหมู่ IIA เป็นโลหะแอลคาไลน์เอิร์ท มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่ำ มีเลขออกซิเดชัน +2 สารประกอบของธาตุหมู่ IIA เมื่อละลายในน้ำหรือ อ่านเพิ่มเติม

สมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ

สมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ
สารประกอบของธาตุในคาบที่ 2 และคาบที่ 3 จะนีแนวโน้มของสมบัติต่างๆ ดังนี้ คือ
             ธาตุหมู่ IA , IIA , IIIA     จะเกิดสารประกอบคลอไรด์  ออกไซด์ได้เพียงชนิดเดียว และมีเลขออกซิเดชันเพียวค่าเดียว
             ธาตุหมู่ IV ขึ้นไปจะเกิดสารประคลอไรด์ ออกไซด์ ได้หลายชนิดและมีเลขออกซิเดชัน ได้หลายค่า เเต่ค่าสูงสุดจะเท่ากับจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน
 สมบัติของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบที่ 2 และ 3
 1.  แนวโน้มของจุดหลอมเหลวของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบที่ 2 และ 3  จะลดลงจากซ้ายไปขวา  นั่นคือคลอไรด์ของโลหะ (ซ้าย)  มีจุดหลอมเหลวสูงมาก เพราะ อ่านเพิ่มเติม